SCILUTION

บทความ

เงินทองเรื่องต้องรู้ เรื่อง \"บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า ตอนที่ 1\"

10-06-2562 16:10:35น.

ข่าวประกาศ

 

เงินทองเรื่องต้องรู้ เรื่อง "บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า ตอนที่ 1"

ปีใหม่แล้ว  อยากเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมทำบุญเสริมดวงชะตา คนไทยเราเป็นคนใจบุญ หากพอจะมีเงินเหลือกิน เหลือใช้บ้าง  ก็มักจะบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม ให้วัด ให้โรงเรียน  นับเป็นการสร้างเนื้อนาบุญไว้ชาติหน้าจะได้สบาย  ถ้าเป็นสมัยก่อนก็อาจจะยังไม่ทันเห็นผลบุญที่ได้ทำในชาตินี้   แต่ปัจจุบันเมื่อเราทำบุญแล้วเราก็ได้รับผลบุญในชาตินี้ล่วงหน้าเลย คือได้เงินคืนจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี 1 เท่า หรือ 2 เท่า      คนไทยเราส่วนใหญ่เมื่อทำบุญแล้วก็อยากได้รับผลจากบุญที่ทำทันตาเห็น  ไหนๆ เมื่อบริจาคเงินแล้วหากสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้บ้างก็นับเป็นสิ่งที่ดี  และจะเป็นการดียิ่งขึ้นหากบริจาคแล้วสามารถลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า  จึงเป็นที่มาของข้อความฮิตติดอันดับในการค้นหาแห่งปี  คือ  บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า”    

 บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า”   คำตอบของเรื่องนี้  คือ   รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนที่พอจะมีกินมีใช้แล้วเหลือพอที่บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมได้   ก็อนุญาตให้นำเงินที่บริจาคไปนั้นนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งจำนวน  แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน   และ เงินบริจาคที่รัฐอนุญาตให้ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้นั้น ในหมวดที่ บริจาคให้มหาวิทยาลัยฯแล้วสามารถนำไปลดหย่อนได้  2 เท่า   ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการดังต่อไปนี้

(1) จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

(2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด

(3) จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด   ( หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักการของประมวลรัษฎากรเรื่องนี้โปรดอ่านเพิ่มเติม   พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547)

จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี ข้างต้น ประกอบกับ ผู้บริหารของเราท่านมีสายตาอันยาวไกลอยากให้เราและท่านทั้งหลายได้สร้างเสริมบารมีทั้งชาตินี้และชาติหน้า  จึงมอบหมาย นโยบายสำคัญเรื่องเงินบริจาค โดยอาศัยโอกาสจากการที่ มหาวิทยาลัยฯของเราเป็นสถานศึกษาของรัฐ (ตามที่รมต.คลังกำหนด ) ซึ่งผู้ใดบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้มหาวิทยาลัยแล้ว  สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่า   ดังนั้น   ในลำดับแรกนี้ จึงเชิญชวนให้ทุกท่านวางแผนภาษีด้วยเงินบริจาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด  แบบง่ายสุดไม่ต้องคิดมาก โดยบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยฯเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามรายการข้างต้นทั้ง 3 รายการ  แค่นี้ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า และสำหรับท่านที่บริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยฯเพื่อการศึกษาแล้ว เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ..2538 ที่กำหนดแล้ว มหาวิทยาลัยฯก็จะเสนอขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ จัดสร้างเมื่อ พ..2534 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาให้สร้าง

สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน ตามที่ทรงพระราชดำริ มี 7 ชั้น ซึ่งผู้ที่จะเสนอขอพระราชทานต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความประพฤติดี

2. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3. ไม่เคยถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามกฎหมายนี้หรือตามกฎหมายอื่น เว้นแต่เป็นการต้องส่งคืนเนื่องจากได้รับพระราชทานชั้นสูงขึ้น  การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ ดิเรกคุณาภรณ์ ให้เป็นไปตาม พรฎว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชฯ ดิเรกคุณาภรณ์ พ..2538 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2549 จำแนกการกระทำความดีความชอบเป็น 2 ประเภท   คือ กรณีผลงาน และ กรณี บริจาคทรัพย์สิน เพื่อสาธารณประโยชน์    

1. กรณีผลงาน จะต้องเป็นผลงานดีเด่นหรือเป็นแบบอย่างอันควรแก่การสรรเสริญหรือเป็นการกระทำที่

ฝ่าอันตรายหรือเสี่ยงภัยเพื่อปกป้องชีวิตหรือทรัพย์สินอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือประเทศ โดยต้องเป็นผลงานของตนเอง และไม่เคยใช้เสนอขอพระราชทานจนได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ มาแล้ว ถ้าเป็นผลงานที่ทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ จะต้องสรุปแยกผลงานของแต่ละบุคคลให้ชัดเจนเพื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลได้การเสนอขอกรณีมีผลงานมาแล้วปี ตามปกติให้เริ่มเสนอขอชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (...) และให้เสนอขอชั้นสูงขึ้นหนึ่งชั้นตามลำดับเมื่อกระทำความดีความชอบเพิ่มขึ้นจนถึงชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (..)โดยเว้นระยะเวลาแต่ละชั้นตราไม่น้อยกว่า 5ปี

2. กรณีบริจาคทรัพย์สิน เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น เพื่อการแพทย์การสาธารณสุข   การศึกษา    ศาสนา พัฒนาชุมชน สังคมสงเคราะห์หรือความมั่นคงของชาติ จะเสนอขอได้   ตามมูลค่าของทรัพย์สินที่รวบรวมได้ครบตามจำนวนเงิน ที่กำหนดแต่ละชั้นตรา ดังนี้   ไม่ต้องเว้นระยะเวลา 5 ปี เหมือนกรณีผลงาน   แต่ถ้า

เคยได้รับพระราชทานชั้นใดแล้วจะเสนอขอซ้ำชั้นเดิม หรือ ขอชั้นต่ำกว่าเดิมมิได้  ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่บริจาคต้องเป็นของ ผู้บริจาคหรือที่ผู้บริจาคมีสิทธิบริจาคได้ในนามของตน  การบริจาคในนามบริษัทห้างร้าน มิให้นำมาเสนอขอตามปกติ  

การบริจาคทรัพย์สินร่วมกันหลายคน ให้แสดงให้ชัดเจน  ว่าแต่ละคนได้บริจาคเท่าใด ถ้าไม่ได้แสดงรายละเอียด   ดังกล่าว ให้ถือว่าแต่ละคนได้บริจาคเท่าๆ กัน

การบริจาคทรัพย์สินที่มิใช่เงิน ต้องมีหนังสือรับรองมูลค่า แห่งทรัพย์สินที่บริจาคจากส่วนราชการที่เสนอขอหรือ นิติบุคคลที่ได้รับบริจาค  (แยกต่างหากจาก นร.2) เช่น บริจาค ที่ดิน ต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออกหนังสือรับรองมูลค่า ของที่ดินแปลงที่บริจาค ซึ่งเป็นราคา ณ ปีที่มีการโอนให้ราชการ  อย่างแท้จริง

การบริจาคทรัพย์สิน ซึ่งถ้าจะซื้อขายกัน จะต้องทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนเสียก่อน

ทรัพย์สินที่บริจาคต้องไม่เคยใช้เสนอขอพระราชทาน จนได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ตามกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่นมาแล้วและต้องไม่มีเงื่อนไขหรือภาระติดพันใด ๆ ถ้าเป็นการบริจาคหรือกระทำผลงานให้นิติบุคคล  นิติบุคคลนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการอันเป็น สาธารณประโยชน์ ตามรายชื่อที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศ  กำหนดในราชกิจจานุเบกษา (ปัจจุบันมี 40 นิติบุคคลซึ่ง

หน่วยงานหรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาคมีหน้าที่ในการพิจารณา ออกหนังสือรับรองแสดงรายการบริจาคทรัพย์สิน (แบบ นร.2) ให้ผู้บริจาคทุกครั้งที่มีการบริจาค โดยให้ผู้มีอำ นาจตามกฎหมายอย่างแท้จริงลงนามในแบบ นร.2 ตามที่กฎหมาย กำหนดทุกครั้ง (บริจาค 1 ครั้ง ออกหนังสือรับรอง 1 ฉบับ)

การออก นร.2 สำหรับการบริจาคให้หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ให้ดำเนินการ ดังนี้

ครั้งละไม่เกินห้าแสนบาท ให้นายอำ เภอและ สาธารณสุขอำเภอแห่งท้องที่ที่มีการบริจาคลงนามในแบบ นร.2 (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ผู้อำนวยการ  วิทยาลัยพยาบาลไม่ใช่หัวหน้าส่วนราชการตามกฎหมาย)

ครั้งละเกินห้าแสนบาท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดที่มีการบริจาคลงนามใน

แบบ นร.2 โดยไม่มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน

การบริจาคให้นิติบุคคล 40 แห่ง ให้นิติบุคคล  ดำเนินการออกแบบ นร.2 โดยให้ผู้แทนนิติบุคคลและเหรัญญิก หรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของนิติบุคคลร่วมลงลายมือชื่อ

ในแบบ นร.2 และให้ส่วนราชการที่ได้รับบริจาคมากที่สุดเป็น ผู้รวบรวมแบบ นร.2 แล้วพิจารณาเสนอขอพระราชทานให้บุคคลนั้น ต่อไป โดยเสนอคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองระดับจังหวัด ระดับกรม ระดับกระทรวงตามลำดับ ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีฯ พ..2538 

                จากการเร่งระดมเงินบริจาค จึงทำให้มีข้อสงสัย ข้อหารือ ต่างๆ ตามมา  จึงถือโอกาสนี้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคเงินเพิ่มเติม ดังนี้

1. รับบริจาคเป็น  เงินสด   ให้ออกใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน โดยระบุชื่อผู้บริจาค จำนวนเงินที่บริจาค ระบุวัตถุประสงค์ แห่งการบริจาค เพื่อให้ผู้บริจาคที่เป็น บุคคลธรรมดาหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปยกเว้นภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร

2. รับบริจาคเป็น  ทรัพย์สิน   ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน แต่ให้ออกหลักฐานการรับบริจาคทรัพย์สิน       กรณี บุคคลธรรมดาต้องบริจาคเป็นเงินสด เท่านั้น จึงจะสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้     ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์เกิน 100,000 บาทขึ้นไป ให้ดำเนินการ ดังนี้

• ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนไม่เกิน 5 คน เพื่อ

ดำเนินการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองและภาระติดพันในทรัพย์สิน ประเมินราคาทรัพย์สินที่รับบริจาค รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าสถานศึกษาเพื่อพิจารณา

• หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ

• บันทึกรับรู้ทรัพย์สินในระบบ GFMIS ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด

กรณี รับบริจาคเป็นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  และผู้บริจาคประสงค์นำไปยกเว้นภาษีเงินได้ตาม

ประมวลรัษฎากร ต้องเป็นการบริจาค คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ผ่านการใช้งานมาแล้ว

การออกหลักฐานการรับบริจาค

ให้ หัวหน้าสถานศึกษา” ออกหนังสือรับรองตามมูลค่าที่ได้ดำเนินการหรือตามมูลค่าทรัพย์สินที่เกิน 100,000 บาท ขึ้นไป โดยประทับตราสถานศึกษา และลงลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษาในหนังสือรับรอง ในการรับเงินหรือทรัพย์สินของสถานศึกษา มิให้สถานศึกษารับเงินบริจาคที่ผู้บริจาคระบุเงื่อนไขขอบการบริจาคอันเป็นภาระแก่สถานศึกษาเกินความจำเป็น

หลักเกณฑ์การรับบริจาค

1. คำนึงถึงผลได้ผลเสียประโยชน์และค่าตอบแทนที่จะได้รับ

2. กรณีรับบริจาคมีเงื่อนไขต้องไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ

3. พิจารณาผลตอบแทนคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหรือไม่

4. กรณีรับบริจาคทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน ให้ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ก่อนเสมอ

5. รับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินไม่ตรงกับอำนาจหน้าที่ให้ส่งมอบแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดูแลและบริหารทรัพย์แผ่นดินต่อไป

6. ให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

7. อาจตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาการรับบริจาคก่อนก็ได้

.........................................................................................................................................

 

ข้อมูลอ้างอิง

1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ.2526

2. คำสั่งมอบอำนาจ สพฐ.ที่ 1268/2547 ลงวันที่ 5 เมษายน 2547 เรื่อง มอบอำนาจการตอบขอบใจหรืออนุโมทนา

3. คำสั่งมอบอำนาจ สพฐ.ที่ 265/2549 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2549 เรื่อง การมอบอำนาจการรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ

4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่สถานศึกษา พ.ศ. 2552

เห็นประโยชน์หลายต่อจากเงินบริจาคแล้วนะค่ะ  อยากให้ช่วยบอกกันต่อๆไป เพื่อที่จะได้มีคนบริจาคให้มหาวิทยาลัยของเรา เยอะๆ   และ ปัจจุบันหลายหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยก็ขานรับนโยบายนี้  ช่วยกันเร่งระดมทุนเงินบริจาค  นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ     และกองคลัง จะพยายามรวบรวมสิ่งดีๆ ที่มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ทราบ  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ความกระจ่างแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ในเรื่องการรับบริจาค    สำหรับผู้อ่านหรือบุคลากรท่านใดที่ต้องการให้กองคลังเสนอบทความที่ท่านมีความสนใจเป็นพิเศษสามารถแนะนำได้ที่ กองคลัง   พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ